Letter of Credit

Letter of Credit

Letter of Credit

         มารู้จักกับ Letter of Credit หรือ L/C กันนะคะ 1 ปี, 6 เดือน ก่อนการชำระเงินผ่านธนาคารนั้น เราเรียกว่า Letter of Credit หรือ L/C เป็นวิธีการที่ดีแต่ก็มีข้อผิดพลาดขึ้นได้ อย่างเช่นความไม่เข้าใจในข้อตกลงระหว่างกันเองของผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจจะมีเงื่อนไขที่ไม่อาจปฏิบัติได้จริงอย่างเช่นเรื่องของระยะเวลาการเดินทางของเรือสินค้า 15 วัน แต่ตกลงกันใน L/C 10 วัน หรือ 15 วันพอดี แต่เมื่อสินค้าไปไม่ทันตามเวลาที่ระบุไว้ใน L/C ก็ถือว่าผิดข้อตกลง เพราะอย่าลืมว่าการขนส่งสินค้าทางเรือนั้นบางครั้งเราก็ไม่อาจจะกำหนดให้สินค้าไปถึงที่หมายได้ทันเวลา ดังนั้นระยะเวลาที่ระบุใน L/C นั้น ต้องให้ระยะเวลาสำหรับการผลิต การจัดเตรียมเอกสารส่งออก รวมถึงระยะเวลาการส่งเอกสารไปแสดงกับธนาคารผู้เปิด L/C นอกจากนี้อาจจะมีข้อผิดพลาดในเรื่องของเอกสาร เช่น การขาดเอกสารแนบบางตัว การไม่เซ็นต์รับรองเอกสาร ไม่ทำการสลักหลังเอกสารตามที่ระบุใน L/C เป็นต้น จะเห็นว่าแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยความละเอียดในการตรวจสอบ มีความซับซ้อน และเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ส่งออก แต่ในความยุ่งยากเหล่านี้ก็ถือเป็นหลักประกันได้ว่าคุณจะได้รับเงินในการขายสินค้าแน่นอน

       การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือ เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย

        สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้

   ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที

    จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่าได้

 

    คำศัพท์ทั่วไป

Applicant: คนขอเปิด L/C หรือผู้นำเข้า

Beneficiary: ผู้รับเงินหรือผู้ส่งออก

Issue Bank: ธนาคารที่ใช้เปิด L/C ของผู้นำเข้า

Advising Bank: ธนาคารของผู้ส่งออกหรือผู้รับเงิน

-  ธนาคารผู้ยืนยัน แอลซี ( Confirming Bank ) คือ ธนาคารผู้ยืนยันว่าจะชำระเงินตาม แอลซี ให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อเอกสารถูกต้องตาม แอลซี ทุกประการ แต่ธนาคารผู้เปิด แอลซี ไม่สามารถชำระเงินได้

 - Nominated Bank หมายถึง ธนาคารผู้ได้รับแต่งตั้งที่เครดิตระบุให้นําเอกสารไปขึ้นเงินได้ (available with) หรือ ธนาคารใดๆ กรณีที่เครดิตระบุให้ไปขึ้นเงินกับธนาคารใดก็ได้ (available with any bank)

 - Negotiation หมายถึงการรับซื้อตั๋วแลกเงินโดยธนาคารผู้ได้รับการแต่งตั้ง (ที่สั่งจ่ายเอาแก่ธนาคารอื่นที่มิใช่ธนาคารผู้ได้รับแต่งตั้ง) และ/หรือ เอกสารที่ถูกต้องตามเครดิต (complying presentation) ด้วยการชําระเงินให้ก่อน(by advancing funds) หรือ ตกลงกันว่าจะชําระเงินให้ก่อน(Agreeing to Advance  Funds) ใ้ห้แก่ผู้ รับประโยชน์ในวันที่ธนาคารผู้ได้รับการแต่งตั้งได้รับเงิน หรือ ก่อนวันทําการที่ธนาคารผู้ได้รับการแต่งตั้งจะได้รับการชําระเงินคืน     

 - Presenter   ผู้รับประโยชน์ ธนาคาร หรือ ผู้อื่นที่ดําเนินการยื่นเอกสาร

 - Confirmation   หมายถึงภาระผูกพันที่มีขอบเขตจํากัดของธนาคารผู้ยืนยันการชําระเงินตามเครดิตที่มีเพิ่มเข้าไปร่วมอีกธนาคารหนึ่ง นอกเหนือจากภาระของธนาคารผู้เปิดเครดิตที่จะชําระเงินหรือ รับซื้อตั๋วที่ถูกต้องตามเครดิต

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ Letter of Credit (L/C)

 - Advising Bank หมายถึง ธนาคารผู้้แจ้งการเปิดเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามคําขอของธนาคารผู้เปิดเครดิต

 - Issuing Bank หมายถึง ธนาคารผู้เปิดเครดิตตามคําขอของผู้ขอเปิดเครดิต หรือ เปิดในนามของธนาคารเอง

 - Applicantหมายถึงผู้ที่ขอให้ธนาคารเปิดเครดิต

 - Beneficiary หมายถึง ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ตามเครดิตที่เปิดให้แก่ตน

 - Honourหมายถึงการชําระเงิน

             โดย a. ชําระเงินเมื่อเห็นเอกสาร ถ้าเครดิตเป็นแบบชําระเงินเมื่อเห็น (by sight payment)

  1. สัญญาว่าจะชําระเงินตามระยะเวลาที่กําหนด และ ชําระเมื่อถึง กําหนด ถ้าเครดิตเป็นแบบจ่ายในอนาคต (bydeferred payment)
  2. รับรองตั๋วแลกเงิน (ดร๊าฟท์) ที่สั่งจ่ายโดยผู้รับประโยชน์ และ ชําระเมื่อถึงกําหนดถ้าเครดิตเป็นแบบรับรองตั๋วแลกเงิน (by acceptance)

- Presentation หมายถึง การส่งมอบเอกสารภายใต้เครดิตให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับแต่งตั้งหรือตัวเอกสารที่ได้ส่งมอบแล้วนั้น

- Complying Presentation หมายถึง เอกสารที่ยื่นตรงตามข้อกําหนดและเงื่อนไขของเครดิต ตรงตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องตามกฏของ UCP 600 และ ตามมาตรฐานสากลในการปฏิบัติระหว่างธนาคาร (INTERNATIONAL STANDARD BANKING PRATICE OR (ISBP)

- Presenter  หมายถึง ผู้รับประโยชน์ ธนาคาร หรือ ผู้อื่นที่ดำเนินการยื่นเอกสาร

- Advising Bank หมายถึง ธาคารผู้แจ้งการเปิดเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามคําขอของธนาคารผู้เปิดเครดิต

- Confirmation หมายถึงภาระผูกพันที่มีขอบเขตจํากัดของธนาคารผู้ยืนยันการชําระเงินตามเครดิตที่มีเพิ่มเข้าไปร่วมอีกธนาคารหนึ่ง นอกเหนือจากภาระของธนาคารผู้เปิดเครดิตที่จะชําระเงินหรือ รับซื้อตั๋วที่ถูกต้องตามเครดิต

- Confirming Bank หมายถึง ธนาคารที่ยืนยันการชําระเงินตามเครดิต ตามที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตมอบอํานาจหรือขอร้องมา

- Banking Day หมายถึง วันที่ธนาคารเปิดทําการโดยปกติ  (is Regularly Open) ณ สถานที่ซึ่งปฏิบัติการโดยดําเนินการตามกฎของ  UCP 600  (an act subject to these rules is to be performed)

- Nominated Bank หมายถึง ธนาคารผู้ได้รับแต่งตั้งที่เครดิตระบุให้ นําเอกสารไปขึ้นเงินได้ (available with) หรือ ธนาคารใดๆ กรณีที่เครดิตระบุให้ไปขึ้นเงินกับ ธนาคารใดก็ได้ (available with any bank)



                                                                            INCOTERMS 2020

INCOTERMS 2020 (International Commercial Terms of 2020)
คือ ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศปี 2020 ซึ่งถือเป็นข้อตกลงมาตรฐานสากลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยได้รับการยอมรับและใช้อ้างอิงสำหรับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งจากผู้นำเข้าและผู้ส่งออกทั่วโลก

โดยปกติ Inocoterms จะมีวาระในการทบทวนเพื่อแก้ไขและปรับปรุงเนื้อหาทุก ๆ 10 ปี โดยทาง (International Chamber of Commerce – ICC) เช่น INCOTERMS 2000, INCOTERMS 2010 และ INCOTERMS 2020

INCOTERMS 2020 ประกอบด้วย 11 Terms

  1. EXW : Ex Works คือ

Seller ส่งมอบสินค้า ณ หน้าร้าน / หน้าโรงงาน โดยยานพาหนะที่จะมารับสินค้า เป็นภาระของผู้ซื้อ

Buyer เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อความเสียหายหรือการสูญหายตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า

Delivery Cost: ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมด ตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า จากหน้าร้าน / หน้าโรงงานของผู้ขาย

Customs Clearance: ผู้ชื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร ขาออก/ผ่านแดน/ขาเข้า (ผู้ขายเพียงให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูลและเอกสารเพื่อการส่งออก)

  1. FCA : Free Carriage คือ

Seller ส่งมอบสินค้าถึงบนพาหนะของผู้รับขนส่งที่ทางผู้ซื้อ จัดให้มารับสินค้า ณ สถานที่ที่ระบุไว้

Buyer เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือความเสียหายของสินค้าตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า

Delivery Cost: ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมด ตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า

Customs Clearance: ผู้ชื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร ขาออก/ผ่านแดน/ขาเข้า (ผู้ขายเพียงให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูลและเอกสารเพื่อการส่งออก)

  1. FAS : Free Alongside Ship คือ

Seller ส่งมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้ที่ข้างเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ

Buyer เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือความเสียหายของสินค้าตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า

Delivery Cost: ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมด ตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า

Customs Clearance: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออกที่ต้นทาง ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า

  1. FOB : Free on Board คือ

Seller ส่งมอบสินค้าถึงบนเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้

Buyer เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือความเสียหายของสินค้าตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า

Delivery Cost: ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมด ตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า

Customs Clearance: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออกที่ต้นทาง ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า

  1. CFR : Cost and Freight คือ

Seller ส่งมอบสินค้าไว้บนเรือ ณ ท่าเรือส่งออกที่ระบุ

Buyer เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อความเสียหายหรือการสูญหายตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า

Delivery Cost: ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ค่ายกสินค้าออกจากเรือ ณ ท่าเรือปลายทาง

Customs Clearance: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า

  1. CIF : Cost Insurance and Freight คือ

Seller ส่งมอบสินค้าไว้บนเรือ ณ ท่าเรือส่งออกที่ระบุ และต้องทำสัญญาประกันภัยและชำระค่าประกันภัยจากท่าเรือต้นทางไปยังท่าเรือปลายทางใน Clauses (C) ของ Institute Cargo Clauses

Buyer เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อความเสียหายหรือการสูญหายตั้งแต่ได้รับมอบสินค้า

Delivery Cost: ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ค่ายกสินค้าออกจากเรือ ณ ท่าเรือปลายทาง

Customs Clearance: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออก? ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน /ขาเข้า

  1. CPT : Carriage Paid To คือ

Seller ส่งมอบสินค้าให้แก่ ผู้รับจัดการขนส่งที่ตนเป็นผู้ว่าจ้าง ให้ส่งสินค้าไปยังสถานที่ปลายทางที่ระบุ

Buyer เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อความเสียหายหรือการสูญหายตั้งแต่ได้รับมอบสินค้าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขนที่ผู้ขายว่าจ้าง ณ จุดที่กำหนด

Delivery Cost: ผู้ขายเป็นผู้รับภาระชำระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมดจนถึงสถานที่ปลายทางที่ระบุ

Customs Clearance: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า

  1. CIP : Carriage and Insurance Paid To คือ

Seller ส่งมอบสินค้าให้แก่ ผู้รับจัดการขนส่งที่ตนเป็นผู้ว่าจ้าง ให้ส่งสินค้าไปยังสถานที่ปลายทางที่ระบุ และต้องทำสัญญาประกันภัยต่อความเสี่ยงและชำระค่าประกันภัยให้ผู้ซื้อจากจุดส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับจัดการขนส่งที่ผู้ขายว่าจ้าง ไปยังสถานที่ปลายทางที่ระบุ

Buyer เป็นผู้รับความเสี่ยงต่อความเสียหายหรือการสูญหายตั้งแต่ได้รับมอบสินค้าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขนที่ผู้ขายว่าจ้าง ณ จุดที่กำหนด

Delivery Cost: ผู้ขายเป็นผู้รับภาระชำระค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสินค้าทั้งหมดจนถึงสถานที่ปลายทางที่ระบุ

Customs Clearance: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า

  1. DPU: Delivered at Place Unloaded คือ

Seller ทำการส่งมอบสินค้า โดยรับผิดชอบทั้งค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงทั้งหมดไปจนถึงการขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะไปยังอาคารขนถ่ายสินค้าปลายทางที่ระบุ ในสัญญารับขนส่ง

Buyer รับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว

Delivery Cost: ผู้ขายเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจนถึงสถานที่ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุ ภายใต้สัญญารับขนส่ง

Customs Clearance: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออกและผ่านแดน ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้า

Remarks : *ก่อน INOCOTERMS 2020 DPU ถูกเรียกว่า DAT(Delivery at Terminal)

  1. DAP : Delivered at Place คือ

Seller :ส่งมอบสินค้าบนพาหนะขนส่งที่พร้อมจะขนถ่ายสินค้าลง ณ สถานที่ปลายทางระบุ (ไม่ต้องขนสินค้าลง)

Buyer รับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว

Delivery Cost: ผู้ขายเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจนถึงสถานที่ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุ ภายใต้สัญญารับขนส่ง

Customs Clearance: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออกและผ่านแดน ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการขาเข้า

Remarks : **ก่อน INOCOTERMS 2020 DAP ถูกเรียกว่า DDU (Delivered Duty Unpaid)

  1. DDP : Delivered Duty Paid คือ

Seller ผู้ขายส่งมอบสินค้าบนพาหนะขนส่งที่มาถึงพร้อมจะขนถ่ายสินค้าลง ณ จุดที่ตกลงกันที่สถานที่ปลายทางที่ระบุ (ไม่ต้องขนสินค้าลง)

Buyer รับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว

Delivery Cost: ผู้ขายเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้าและการขนส่งจนกว่าสินค้าจะถูกส่งถึงสถานที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุไว้ ภายใต้สัญญารับขน

Customs Clearance: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรขาออก/ผ่านแดน/ขาเข้า ทั้งหมด



    UCP 600 การชำระเงินระหว่างประเทศ

นิยาม

คำว่า UCP นั้นย่อมาจาก UNIFORM CUSTOMS AND PRATICE FOR DOCUMENTARY CREDIT ซึ่งเป็นประเพณีและพิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกโดย ICC หรือสภาหอการค้านานาชาติ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสหรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็นกฎกติกาในการค้าระหว่างประเทศที่ใช้เลตเตอร์ออฟเครดิตในการชำระเงินฉะนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องในเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องยึดถือกฎกติกานี้โดยUCP ฉบับปรับปรุงแก่ไขล่าสุดคือUCP600ที่ประกาศใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 2007 ซึ่งรายละเอียดในUCP 600 นี้จะมีต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ และสามารถติดต่อซื้อได้ที่สภาหอการค้านานาชาติสาขาประเทศไทย หรือสอบถามจากธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่



ความเป็นมา

ในอดีตผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการค้าทั้งนายธนาคารและพ่อค้าวาณิชต่างๆได้มีการพัฒนาวิธีการปฏิบัติในการทำการค้าระหว่างประเทศขึ้นมาซึ่งประเพณีการปฏิบัติเหล่านี้มีการรับรองมาตรฐานโดยหอการค้านานาชาติกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส(International Chamber of Commerce) และมีการจัดพิมพ์ประเพณีปฏิบัติดังกล่าวเป็นครั้งแรกในปี  ค.ศ. 1933 เรียกว่า UCP 100 ซึ่งต่อมาก็ได้มีการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยนตลอดมาโดย UCP ฉบับล่าสุด คือ UCP 600 ที่ประกาศเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2007

รายละเอียดในกฎ UCP กฎ UCP 600 นั้นมีด้วยกันทั้งหมด 39 มาตรา

มาตรา 1 การใช้ UCP จะกล่าวถึงการอ้างอิงกฎ UCP เพื่อใช้กับเลตเตอร์ออฟเครดิตฉบับที่ระบุว่าผูกพันกับกฎ UCP 600 นี้ รวมทั้งจะผูกพันกับทุกฝ่ายที่เลตเตอร์ออฟเครดิดระบุชื่อ
มาตรา 2 คำจำกัดความ จะกล่าวถึงความหมายของคำสัญญาที่ใช้ในดัวเลตเตอร์ออฟเครดิต
มาตรา 3 การตีความ จะกล่าวถึงการดีความถ้อยคำต่างๆที่สำคัญในเลตเตอร์ออฟเครดิตว่ามีความหมาย
มาตรา 4 เครดิตกับคำสัญญา จะกล่าวถึงว่าเลตเตอร์ออฟครดิตกับคำสัญญานั้นแตกต่างกันโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นธุรกรรมที่แยกออกจากหนังสือสัญญาซื้อขายหรือหนังสือสัญญาอื่นๆธนาคารไม่เกี่ยวข้องหรือผูกพันกับหนังสือสัญญาซื้อขายซึ่งผู้ซื้อ/ผู้ขายต้องเข้าใจข้อกำหนดนี้ให้ดี
มาตรา 5 เอกสารกับสินค้า/การบริการ/การปฏิบัติการ จะกล่าวถึงการที่ธนาคารดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเอกสารเท่านั้นไม่เกี่ยว ข้องกับสินค้า บริการ หรือการปฏิบัติการใดๆที่ตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตอาจจะระบุไว้
มาตรา 6 การเบิกเงิน วันหมดอายุของเครดิต และสถานที่ยื่นเอกสาร จะกล่าวถึงรายละเอียดว่าตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตต้องระบุอย่างไรบ้างเกี่ยวกับ การเบิกเงินวันหมดอายุของเครดิด และสถานที่ยื่นเอกสาร
มาตรา 7 ความรับผิดชอบของธนาคารผู้เปิดเครดิต จะกล่าวถึงภาระที่ธนาคารที่แจ้งเลตเตอร์ออฟเครดิตต้องรับผิดชอบ
มาตรา 8 ความรับผิดชอบของธนาคารผู้ยืนยันการชำระเงินตามเครดิด จะภาระผูกพันที่ธนาคารผู้ยืนยันการชำระเงินตามเครดิตต้องรับผิดชอบ
มาตรา 9 การแจ้งเครดิตและการแก่ไข จะกล่าวถึงภาระหน้าที่ของธนาคารผู้แจ้งเครดิตในการแจ้งเครดิด หรือแจ้งแก่ไขเครติดต่อผู้รับประโยชน์ หรือผู้ขาย
มาตรา 10 การแก้ไขเครดิต จะกล่าวถึงการแก้ไขเครดิตว่าต้องได้รับความยินยอมจากธนาคารผู้เปิดเครดิดธนาคารผู้ยืนยันการชำระเงินตามเครดิต (หากมี) และผู้รับผลประโยชน์ รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆในการแก้ไขเครดิด
มาตรา 11 การออกเครดิดทางโทรพิมพ์และเครดิดอย่างย่อและการแก้ไข จะกล่าวถึงเลตเตอร์ออฟเครดิดที่เปิดผ่านทางสื่อโทรคมนาคม ว่าสามารถมีผลบังคับใช้ได้เลยเว้นแต่จะบอกว่ายังไม่มีผล และหากมีข้อความระบุว่จะส่งรายละเอียดที่สมบูรณ์ตามมาภายหลัง ธนาคารผู้แจ้งเครดิดจะต้องส่งตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเต็มตามไปโดยเร็ว



มาตรา 12 การแต่งตั้งธนาคาร (Nomination) จะกล่าวถึงภาระผูกพันในการชำระเงินหรือรับซื้อตั๋วของธนาคารที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารผู้แจ้งเครติต (ส่วนใหญ่คือ Advising Bank)
มาตรา 13 ข้อตกลงการชำระเงินกันระหว่างธนาคารต่อธนาคาร จะกล่าวถึงคำสั่งเรื่องการชดใช้เงินคืนระหว่างธนาคาร(Reimbursement)ว่าขึ้นกับกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการชดใช้เงินคืนระหว่างธนาคาร ธนาคารของสภาหอการค้าหรือไม่ URR.525) ถ้าไม่ ธนาคารผู้เปิดเครดิตต้องจัดให้มีธนาคารผู้ชดใช้เงินคืนแทนตน พร้อมด้วยการมอบอำนาจให้ชดใช้เงินซึ่งสอดคล้องกับการให้เบิกเงินตาม L/C
มาตรา 14 มาตรฐานการตรวจเอกสาร จะกล่าวถึงมาตรฐานในการตรวจเอกสาร อย่างเช่น ระยะเวลาของธนาคารในการตรวจเอกสารหลังจากที่ได้รับเอกสารจากผู้ขายจากเดิม 7 วันตาม UCP 500 เหลือเพียง 5 วันในUPC 600 แต่ระยะเวลาดังกล่าวจะไม่ถูกตัดทอนให้สั้นลงหรือไม่ถูกกระทบจากเรื่องวันหมดอายุของ L/C หรือวันสุดท้ายของการยื่นเอกสาร
มาตรา 15 การยื่นเอกสารที่ตรงกับเครดิต จะกล่าวถึงหน้าที่ของธนาคารหลังจากที่ตรวจพบว่าผู้ขายทำการยื่นเอกสารที่ถูกต้องตรงตามเลตเตอร์ออฟเครดิต
มาตรา 16 เอกสารที่ไม่ตรงกับเครดิต การละเว้น และการแจ้ง (Discrepant document waiver and Notice จะ กล่าวถึงหน้าที่ของธนาคารที่จะต้องแจ้งปฏิเสธการชำระเงินแก่ผู้รับผลประโยชน์หรือผู้ขายหรือแจ้งทางเลือกสำหรับการดำเนินการกับเอกสารอย่างเช่น ธนาคารยังถือเอกสารไว้รอรับคำสั่งจากผู้อื่น หรือยังคงถือเอกสารไว้จนกว่าผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิดจะยอมละเว้นหรือยอมรับเอกสาร ฯลฯ เมื่อตรวจพบว่าเอกสารที่ผู้ขายยื่นไม่ถูกต้องตามเครดิต
มาตรา 17 เอกสารต้นฉบับและสำเนา จะกล่าวถึงจำนวนต้นฉบับของเอกสารที่จะต้องยื่นตามเลตเตอร์ออฟเครดิตอย่างน้อย 1 ฉบับ และการเรียกขอสำเนาเอกสารว่าสามารถยื่นเป็นเอกสารต้นฉบับแทนได้ รวมถึงการตีความหมายของเอกสารที่ธนาคารจะถือว่าคือต้นฉบับ
มาตรา 18 ใบกำกับสินค้าเพื่อการพาณิชย์ (Commercial Invoice) จะกล่าวถึงลักษณะของใบกำกับสินค้าที่่ถูกต้องโดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับสินค้าให้ถูกต้องตามมาตรานี้
มาตรา 19 เอกสารการขนส่งที่ครอบคลุมวิธีการขนส่งที่แตกต่างกันอย่างน้อยสองวิธีจะกล่าวถึงรายละเอียดที่จะต้องระบุอยู่ในเอกสารประเภทนี้ อาทิเช่น ระบุชื่อผู้รับขนส่ง ระบุว่าสินค้าได้ถูกจดส่งรับไว้ในความดูแล หรือถูกนำขึ้นพาหนะ ณ สถานที่ที่เครดิดระบุไว้ เป็นต้น รวมทั้งความหมายของการเปลี่ยนถ่ายสินค้า(Transshipment) ว่าคือการนำสินค้าออกจากพาหนะหนึ่งและนำไปบรรทุกใหม่ในอีกพาหนะหนึ่ง ไม่ว่าพาหนะทั้งสองจะเป็นรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบก็ตาม (different mode of transport)
มาตรา 20 ใบตราส่งสินค้ำประเภท Bill of Lading จะกล่าวถึงรายละเอียดที่จะต้องระบุอยู่ในใบตราส่งสินคำที่ใช้กับการขนส่งทางทะเล รวมทั้งความหมายของการเปลี่ยนถ่านสินค้า Transshipment) ซึ่งในที่นี้หมายถึงการขนสินค้าขึ้นจากเรือลำหนึ่ง และนำไปบรรทุกใหม่ลงในเรืออีกลำหนึ่งในระหว่างการขนส่งจากท่าเรือต้นทางไปยังทำเรือปลายทาง



มาตรา 21 ใบรับสินค้ทางทะเลชนิดโอนเปลี่ยนมือไม่ได้ (Non-Negotiable Sea Waybill) จะกล่าวถึงใบรับสินค้าทางทะเลชนิดที่โอนเปลี่ยนมือไม่ได้ ซึ่งจะมีรายละเอียดเหมือนมาตรา 20 ใบตราส่งสินค้าชนิด Bill ofLading เพียงแต่ใบตราส่งสินค้านี้เป็นเพียงใบรับสินค้าหรือเป็นสัญญารับส่งสินค้าแต่ไม่เป็นเอกสารแสดงสิทธิ์ในสินค้า และจะระบุชื่อผู้รับสินค้าตรงตัว (คือระบุเป็นชื่อบริษัท จะไม่ใช้คำว่า To Order หรือ To Orderof Shipper)
มาตรา 22 ใบตราส่งแบบมีสัญญาเช่าเรือ Charter Party Bill of Ladingจะกล่าวถึงรายละเอียดในใบตราส่งว่าจะต้องระบุข้อความเช่นไรบ้าง
มาตรา 23เอกสารขนส่งสินค้าทางอากาศ จะกล่าวถึงรายละเอียดที่จะต้องระบุอยู่ในเอกสารการขนส่งสินค้าทางอากาศ รวมทั้งความหมายของการเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment) คือ การขนสินค้าออกจากเครื่องบินลำหนึ่งไปบรรทุกใหม่ในเครื่องบินอีกลำหนึ่ง ในระหว่างเส้นทางการขนส่งตามเครดิต
มาตรา 24 เอกสารการขนส่งสินค้าทางถนน ทางรถไฟ หรือ ทางน้ำในประเทศ จะกล่าวถึงรายละเอียดในเอกสารการขนส่งทางถนน ทางรถไฟ หรือทางน้ำในประเทศ ว่าเป็นอย่างไรจึงจะถูกต้องตาม UCP 600
มาตรา 25 ใบรับสินค้า : ระบบส่งตรง (Courier, ทางไปรษณีย์ (Post Receipt) หรือ ใบรับรองการส่งทางไปรษณีย์ จะกล่าวถึงรายละเอียดในใบรับสินค้าในกรณีที่ใช้ระบบส่งของ หรือส่งทางไปรษณีย์ว่าจะต้องระบุ
มาตรา 26 "On Deck", "Shipper's Load and Count" , Said by Shipper to Contain" 'ChargesAdditional to Freight" จะกล่าวถึงรายละเอียดในเอกสารขนส่งว่าจะต้องไม่ระบุว่าสินค้าถูกบรรทุกหรือจะถูกบรรทุกบนดาดฟ้าเรือส่วนข้อความในเอกสารการขนส่งสินค้าอาจจะถูกบรรทุกบนดาดฟ้าเรือจะยอมรับได้และธนาคารจะยอมรับเอกสารที่ระบุว่า "ผู้ส่งสินค้ำเป็นผู้ขนของและตรวจนับเอง" "Shipper's Load andCount" หรือ "ผู้ส่งสินค้าเป็นผู้แจ้งว่ารายละเอียดสินค้าที่ส่งประกอบด้วย" Said by Shipper to Contain
มาตรา 27 เอกสารการขนส่งที่เรียบร้อยดี ((lean Transport Document)จะกล่าวถึงการที่ธนาคารจะยอมรับเพียงเอกสารการขนส่งที่ไม่ปรากฏข้อความ หรือ การบันทึกที่แสดงถึงข้อบกพร่องอย่างชัดเจนของสินค้า หรือหีบห่อที่บรรจุสินค้า แต่ไม่จำเป็นต้องปรากฎคำว่า Clean บนเอกสารนั้น ถึงแม้ในเครดิดจะเรียกขอเอกสารการขอเอกสารที่เป็นแบบ "Clean on Board"
มาตรา 28 เอกสารประกันภัย และภัยที่คุ้มครอง จะกล่าวถึงเอกสารที่ถือเป็นเอกสารประกันภัยว่าจะต้องออกโดยผู้ใดจึงจะถือว่าเป็นเอกสารประกันภัยอย่างแท้จริง รวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆในเอกสาร
มาตรา 29 การขยายวันที่หมดอายุหรือวันสุดท้ายในการยื่นเอกสาร กล่าวถึงวันหมดอายุ หรือ วันสุดท้ายของการยื่นเอกสาร ถ้าหากตรงกับวันปิดทำการของธนาคารสามารถขยายออกไปยังวันเปิดทำการแรกถัดไป และธนาคารต้องรับรองไว้ในใบนำส่งเอกสารว่า การยื่นเอกสารได้ถูกดำเนินการภายในขอบเขตระยะเวลาที่กำหนดโดยการขยายระยะเวลาตามมาตราที่ 29
มาตรา 30 จำนวนเงิน ปริมาณ และราคาต่อหน่วยที่ยินยอมให้ขาดหรือเกิน หากมีคำว่า "About" ,"Approximately" ที่ใช่เกี่ยวกับจำนวนเงินตามเครดิดระบุไว้ ปริมาณสินค้า หรือราคาต่อหน่วย ให้สามารถเพิ่มหรือขาด ได้ไม่เกินกว่า 10% และส่ำหรับสินคำาที่ไม่ได้ระบุหน่วยนับเป็นจำนวนหีบห่อ หรือ เป็นรายการที่นับชิ้นได้ปริมาณสินคำสามารถเพิ่มหรือขาดได้ไม่เกินกว่า 5% ส่วนจำนวนเงินรวมที่เบิกต้องไม่เกินกว่าในเครดิต
มาตรา 31 การเบิกเงินหรือการส่งสินค้าบางส่วน (Partial drawings or shipments) จะกล่าวถึงว่า การเบิกเงินบางส่วน หรือ การส่งสินค้าบางส่วนสามารถทำได้ และการยื่นเอกสารการขนส่ง (Transport document)มากกว่า หนึ่งชุดที่แสดงการส่งสินค้าโดยขนส่งด้วยยานพาหนะเดียวกัน เป็นการเดินทางเที่ยวเดียวกันและระบุจุดหมายปลายทางเดียวกัน ไม่ถือว่าเป็นการส่งสินค้าบางส่วน แม้ว่าใบตราส่งสินคำจะระบุวันที่ส่งสินค้าแตกต่างกัน หรือ ทำเรือบรรทุกสินค้าต้นทาง สถานที่รับสินค้า หรือสถานที่ส่งสินค้าแตกต่างกัน โดยถือวันที่สุดท้ายในการส่งสินค้าของเอกสารการขนส่งชุดใดก็ได้เป็นวันส่งสินค้า



มาตรา 32 การส่งสินค้า หรือ การเบิกเงินเป็นงวดๆ (Installment drawings or Shipments) จะกล่าวถึงการเบิกเงินหรือการส่งสินค้าเป็นงวดๆภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในเครดิตว่าหากมีงวดใดไม่ได้เบิกเงินหรือไม่ได้ส่งสินค้าตามที่เครดิดกำหนดสำหรับงวดนั้นแล้ว เครดิตจะสิ้นสภาพ (ceases to be available) สำหรับการเบิกเงินหรือการส่งสินค้างวดตั้งกล่าวและงวดต่อๆไปทั้งหมด
มาตรา 33 เวลาในการยื่นเอกสาร จะกล่าวถึงการที่ธนาคารไม่มีภาระผูกพันที่จะรับเอกสารที่ยื่นนอกเวลาทำการของธนาคาร
มาตรา 34 การปฏิเสธการรับผิดชอบต่อผลที่แท้จริงของเอกสาร จะกล่าวถึงการที่ธนาคารไม่มีภาระผูกพันหรือรับผิดชอบในเรื่องของรูปแบบ (form) ความพอเพียง (sufficiency) ความถูกต้อง (accuracy) ความแท้จริง(genuineness) การปลอมแปลง (falsification) ผลกระทบทางกฎหมาย (legal effect) ของเอกสารใดๆเงื่อนไขทั่วไป เงื่อนไขพิเศษ และที่ถูกเพิ่มเติมเข้าไปในเอกสาร
มาตรา 35 การปฏิเสธความรับผิดชอบต่อการสื่อสารและการแปลความหมาย จะกล่าวถึง การที่ธนาคารไม่มีภาระผูกพันหรือความรับผิดชอบในเรื่องของผลที่เกิดขึ้นภายหลังจากความล่าช้า การสูญหายระหว่างการจัดส่งเอกสาร ข้อความขาดหายไม่สมบูรณ์ และความผิดพลาดอื่นๆที่เกิดขึ้นในการส่งข่าวสาร หรือ การส่งจดหมาย/เอกสาร
มาตรา 36 เหตุสุดวิสัย จะกล่าวถึงการที่ธนาคารไม่มีภาระผูกพันหรือความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นในภายหลังจากการที่ธุรกิจของธนาคารต้องหยุดลงเนื่องจากเหตุสุดวิสัย (acts of god) เช่น การจราจล การก่อกบฏ สงคราม การก่อการร้าย หรือการนัดหยุดงาน หรือเหตุอื่นๆที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของธนาคาร และเมื่อธุรกิจของธนาคารกลับสู่สภาพปกติ ธนาคารก็จะไม่ชำระเงิน หรือไม่รับซื้อตัวที่เครดิดหมดอายุลงในระหว่างที่ธนาคารหยุดทำการเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
มาตรา 37 การปฏิเสธการรับผิดชอบต่อการกระทำของผู้ที่ให้คำสั่ง จะกล่าวถึงการปฏิเสธความรับผิดชอบของธนาคารต่อการกระทำของผู้ให้คำสั่ง อาทิเช่น ธนาคารที่ใช้บริการของธนาคารอื่นตามคำสั่งของผู้เปิดเครดิตย่อมทำไปด้วยความรับผิดชอบและความเสี่ยงของผู้เปิดเครดิต ธนาคารผู้เปิดเครดิดหรือธนาคารผู้แจ้งเครดิตไม่มีภาระผูกพันหรือความรับผิดชอบ ถ้าคำสั่งที่จะส่งไปให้ธนาคารอื่นไม่ได้รับการปฏิบัติ เป็นต้น
มาตรา 38 เครดิดที่พึ่งโอนได้ (Transferable Credits) จะกล่าวถึงลักษณะของเครดิดที่พึ่งโอนได้ อย่างเช่นเครดิตที่โอนได้ ต้องมีคำว่า Transferable และสามารถโอนจำนวนเงินในเครดิดทั้งจำนวน หรือ บางส่วนให้แก่ผู้รับผิดชอบที่สอง (Second beneficiary) ตามคำขอของผู้รับประโยชน์รายแรก (First beneficiary)ฯลฯ
มาตรา 39 การโอนสิทธิ์การรับเงิน (Assignment of Proceeds) จะกล่าวถึง เครดิตที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นTransferable credits นั้น ไม่ได้จำกัดสิทธิ์ของผู้รับประโยชน์ที่จะโอนสิทธิ์หรือให้สิทธิ์การรับเงินของตน แก่ผู้อื่นตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่จะเน้นเพียงแค่การโอนสิทธิ์ให้รับเงิน ไม่ใช่การโอนสิทธิ์ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายใต้เครดิต

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์